选课选项

การใช้สื่อสำหรับภาคประชาสังคมเพื่อประชาธิปไตย

ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง มูลนิธิคอนราดอาเดนาวร์ (สำนักงานประเทศไทย) และวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น คอร์สนี้มุ่งหวังให้กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ 1) บุคลากรภาคสื่อสารมวลชนและภาคประชาสังคม 2) นักศึกษา 3) บุคคลทั่วไปที่สนใจ มีความรู้ในการใช้สื่อยุคใหม่เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในระบอบประชาธิปไตย เพื่อนำไปสู่กระบวนการตัดสินใจในระบอบประชาธิปไตยของพลเมืองตามกรอบประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญตลอดจนเกิดการปรองดองกันอย่างสันติอันจะนำมาซึ่งผลประโยชน์ร่วมกันทางสังคม ซึ่งเนื้อหาประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่

ส่วนที่ 1 : ความรู้ด้านประชาธิปไตย

ส่วนที่ 2 : ความรู้ด้านสื่อและดิจิทัล

ส่วนที่ 3 : ความด้านความขัดแย้งและการแก้ไขความขัดแย้ง

เป้าหมายการเรียนรู้ที่สำคัญ

เป็นที่ทราบกันดีว่าระบอบประชาธิปไตยจะไม่เข้มแข็ง พัฒนาไม่เต็มที่ และไม่เติบโตอย่างยั่งยืนหากปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชน ผลการวิจัยที่ผ่านมาพบว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างประสิทธิภาพของสื่อมวลชนกับการพัฒนาประชาธิปไตย เพราะสื่อสามารถให้ข้อมูล ระบุปัญหา สร้างความเชื่อมโยงระหว่างรัฐบาลกับประชาชน และให้ปัญญา ดังนั้นการใช้สื่ออย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นส่วนช่วยในการสร้างคุณภาพของประชาธิปไตย และหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับการยอมรับในกระบวนการประชาธิปไตยคือภาคประชาสังคม เพราะองค์กรนี้สามารถทำงานร่วมกับสื่อได้อย่างดี สามารถเข้าถึงทุกระดับของสังคมโดยเฉพาะกลุ่มรากหญ้าและชนกลุ่มน้อย ดังนั้นเป้าหมายการเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับคอร์สนี้คือการสร้างความเข้าใจถึงความหมายของ ประชาธิปไตยและกระบวนการประชาธิปไตย บทบาทและหน้าที่ขององค์กรภาคประชาสังคม กระบวนการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย การขจัดความขัดแย้ง และการสร้างผลประโยชน์ร่วมกันเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันทางสังคม ซึ่งความเข้าใจในประเด็นเหล่านี้นับว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาประชาธิปไตยให้เติบโตและเข้มแข็งอย่างยิ่ง

รูปแบบการจัดการเรียนรู้

คอร์สถูกออกแบบให้ผู้เรียนเข้าถึงแต่ละบทเรียนแบบอิสระ (free form) เนื้อหาและแบบทดสอบความเข้าใจในแต่ละบทเรียนจัดกลุ่มให้อยู่รวมกันภายใต้แต่ละส่วนเนื้อหาหลักที่เกี่ยวข้อง นอกจากองค์ความรู้ที่ผู้เรียนจะได้รับจากเนื้อหาหลักแล้ว เพื่อให้เกิดความเข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้น วิทยากรรับเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจะช่วยทำให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาเข้ากับบริบทของการนำไปใช้จริงในรูปแบบการตอบคำถามและยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นจากการศึกษาค้นคว้า ประสบการณ์ และการทำงานจริง อีกทั้ง มีตัวอย่างของการใช้สื่อสำหรับภาคประชาสังคมเพื่อให้เกิดกระบวนการตัดสินใจร่วมทางประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นจริงด้วย ผู้เรียนจะได้รับใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (e-certificate) เมื่อเข้าเรียนและทำแบบทดสอบความรู้ตามที่กำหนด


วิทยากรรับเชิญ

  1. รศ.ดร.เพ็ญณี แนรอท 
  2. ดร.สมพันธ์ เตชอธิก ร
  3. ศ.วนิดา แสงสารพันธ์
  4. รศ.ดร.ศิวัช ศรีโภคางกุล

สนับสนุนการดำเนินโครงการและจัดทำโดย

    มูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ (สำนักงานประเทศไทย) 75/2 ซอยสุขุมวิท 61 แขวงคลองตัน เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110 (ติดต่อ : โทรศัพท์ 0-2714-1207-8, 0-2714-1306 โทรสาร 0-2714-1307 เว็บไซต์ https://www.kas.de/th/web/thailand)

จัดทำและประสานงานโดย

นางสาวณิชาพร เคนโพธิ์

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

คลิ๊กที่นี่ หรือ สแกนคิวอาร์โค๊ดด้านล่างเพื่อดาวน์โหลด eBook (ฟรี)


 

Course content

  1. ส่วนที่ 1 ความรู้ด้านประชาธิปไตย
  2. ส่วนที่ 2 ความรู้ด้านสื่อและดิจิทัล
  3. ส่วนที่ 3 ความรู้ด้านความขัดแย้งและการแก้ไขความขัดแย้ง
  4. รับฟังบรรยายจากวิทยากรรับเชิญ
自助选课 (学生)